โพสต์แนะนำ

ความรู้เรื่องการ "กินเจ"

"กินเจ" เป็นคำที่คุ้นหูกันมากสำหรับบรรดาสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย แต่สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ยังคงคิดกันไปว่า ...

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เด็กติดอุ้ม แก้ไขได้ไม่ยากเลย


อาการที่คุณแม่ส่วนใหญ่เรียกว่า “เด็กติดอุ้ม”  หรือ “อุ้มติดมือ” เป็นอีกปัญหาที่คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่มักพบเจอ โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ให้นม คุณแม่ก็อุ้มลูกจนหลับ (คุณแม่บางคนก็หลับไปด้วย) ทีนี้พอหลายๆ ครั้งเข้า  ลูกน้อยก็เริ่มเกิดการเรียนรู้ว่าเค้าจะต้องหลับในอ้อมกอด หรืออยู่ใกล้ๆ แม่เท่านั้นจึงจะปลอดภัย

ปัญหาคือพอให้นมเสร็จ  ลูกมักจะร้องเมื่อคุณแม่วางลงที่นอน อุ้มให้นมไม่เท่าไหร่  พอพาดบ่าเรอแล้วจะวางลงเท่านั้นล่ะ แงงงงงงง……!!!มาแต่ไกล คุณแม่ก็ต้องไปรีบอุ้มขึ้นมาอีก ไม่อย่างนั้นไม่ได้ทำอย่างอื่นแน่ ตอนกลางวันก็ไม่เท่าไร แต่กลางดึกนี่สิ ทำงานมาก็แสนเหนื่อย พรุ่งนี้ก็ต้องตื่นแต่เช้าอีก นี่ต้องลุกไปกล่อมเจ้าตัวเล็ก พอหยุดร้องได้สักพักจะวางลงก็ร้องอีก ทีนี้ก็เลยกลายเป็นหลับคาอกทั้งแม่ทั้งลูก ยิ่งถ้าเป็นคุณแม่ที่ไม่มีพี่เลี้ยงเด็กคงเหนื่อยแน่นอน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า อาการนี้ไม่ใช่อาการ “ติดมือ” ซึ่งในเด็กเล็กการร้องนั้นสื่อถึงความ “หวั่นไหว” เนื่องจากลูกเคยชินที่มีคนโอบอุ้ม เมื่อเกิดอาการเช่นนี้หมายถึงว่าลูกต้องการการโอบกอด อุ้ม ปลอบโยน  อันนี้เราสามารถอุ้มลูกได้ ในขณะเดียวกันเพื่อให้การอุ้มนั้นเป็นการแสดงพฤติกรรมอย่างมีเป้าหมาย เพื่อให้ลูกเข้าใจว่า การอุ้มนี้มีความสำคัญ มีหลักการง่ายๆ ดังนี้

ยืดเวลาอีกสักนิด ก่อนหน้านี้เวลาคุณแม่ได้ยินเสียงร้องเมื่อไหร่ จากที่เคยอุ้มลูกทันทีไม่ให้ร้องนาน ก็ให้ช้าลงอีกสักนิด อาจจะใช้วิธีนับ 1-10 ดูก็ได้ ตอบสนองให้ช้าลงลูกจะเกิดการเรียนรู้เรื่องการรอคอยไปด้วย

ลดเวลาอุ้มให้น้อยลง เช่น จากที่เคยอุ้มลูก 5 นาทีต่อครั้ง คุณแม่ต้องค่อยๆ ลดเวลาการอุ้มให้น้อยลง เหลือ 4 นาที 3 นาที แล้วช่วงเวลาแยกจากลูกก็สำคัญมาก ต้องค่อยๆ วางลูกลง อาจจะให้ลูกนอนอยู่บนเตียงให้คุณแม่นั่งใกล้ๆ ให้รู้ว่าคุณแม่ไม่หนีไปไหนนะ ยังอยู่ใกล้หนูเสมอ จากนั้นค่อยๆ ห่างออกไป เป็นขอบเตียงบ้าง สร้างระยะห่างแบบค่อยเป็นค่อยไป จนสุดท้ายก็จะสามารถวางลูกน้อยให้นอนบนเตียงเองได้โดยคุณแม่ต้องนั่งเฝ้า

ส่งเสริมให้ลูกช่วยตัวเอง คุณแม่ต้องเริ่มสอนให้ลูกหัดจับขวดนมเอง ให้คืบ คลาน ได้ด้วยตัวเอง ให้เค้ามีพัฒนาการสิ่งที่ทำได้เองอย่างเป็นระบบ เมื่อโตขึ้นเขาก็จะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองด้วย สิ่งนี้ก็จะเป็นการส่งเสริมพื้นฐานของความมั่นใจในตนเอง เท่านี้ลูกก็จะเริ่มมั่นใจที่จะออกห่างจากคุณแม่ได้โดยที่เขาได้รับรู้ความสามารถของตนด้วย

นี่ล่ะคือ เคล็ดลับที่จะไม่ทำให้ลูกต้องร้องไห้บ่อยแล้วยังจะฝึกให้ลูกมีพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น สังคม และสติปัญญาได้อย่างสมวัยอีกด้วย



ที่มา www.thainannyclub.com

ขอบคุณบทความจาก : kodomoclub

รูปภาพประกอบจาก : Internet

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น