โพสต์แนะนำ

ความรู้เรื่องการ "กินเจ"

"กินเจ" เป็นคำที่คุ้นหูกันมากสำหรับบรรดาสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย แต่สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ยังคงคิดกันไปว่า ...

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกกินข้าวยาก ทำอย่างไรดี

สารพันปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

คุณแม่หลายคนประสบปัญหานี้อยู่ และอาจสงสัยว่าเอ๊ะ!!! ทำไม่ช่วงวัยหัดหม่ำ แรกๆกินเก่งกินได้ทู๊กอย่าง กินเกลี้ยงตลอด พออายุมากเกิน12เดือน ปัญหาต่างๆรุมเร้าเข้ามาทั้งไม่เคี้ยว อมข้าว เขี่ย และเลือกมาก เลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบ ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้เพราะอะไรนะ เรามาไขปัญหาลูกกินข้าวยาก และวิธีเอาชนะลูกกินยาก ไปพร้อมๆกันค่ะ 

ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวและชอบอมข้าว

ป้อนเข้าไปแล้วกว่าเจ้าตัวดีจะกินได้สักคำก็นาน..มาก เพราะแกเล่นอมไว้ ไม่ยอมเคี้ยว ไม่ยอมกลืน ทำท่าเหมือนไม่อยากกินงั้นแหละ มื้อหนึ่งๆ กว่าจะกินหมดนี่เล่นเอาคนป้อนเหนื่อยใจซะจริงๆ

สาเหตุลูกไม่ยอมกินข้าวและอมข้าว

ปัญหาการอมข้าวเกิดส่วนใหญ่จะเกิดจากลูกอิ่มมาแล้วก่อนมื้ออาหาร ลองสังเกตดูนะคะว่าก่อนมื้ออาหารมีการให้ลูกกินจุบกินจิบรึเปล่า โดยเฉพาะของหวาน (น้ำหวาน น้ำอัดลมด้วยค่ะ) พ่อแม่เองอาจไม่ได้ให้ลูกกินแต่คนอื่นล่ะคะ ผู้ใหญ่บางคนเห็นเด็กน่ารักก็ป้อนขนมนมเนยให้ เด็กได้กินทั้งวัน พอถึงมื้ออาหารจึงไม่อยากกินนักโภชนาการบอกว่าช่วงที่เด็กย่างเข้าขวบปีที่สองไปจนถึงก่อนเข้าประถมฯ นั้นจะมีปัญหาเรื่องการกินมาก บางคนขวบปีแรกกินเก่งอยู่ดีๆ พอเข้าขวบปีที่สองลูกกลับมีปัญหาไม่ยอมกินซะเฉยๆ ทั้งนี้เพราะช่วงนี้ลูกกำลังสนใจสิ่งหลากหลายรอบตัว ห่วงเล่น หรือเด็กบางคนติดทีวี พ่อแม่เอาทีวีมาล่อให้ลูกนั่งกับที่ จะได้ป้อนง่าย และที่สำคัญพ่อแม่ไม่ได้ฝึกให้ลูกกินด้วยตัวเอง ซึ่งเริ่มฝึกได้ตั้งแต่ลูกเริ่มหยิบของเข้าปากในขวบปีแรกนั่นแหละค่ะ พ่อแม่จึงต้องป้อนต้องบังคับให้กินกันร่ำไป ลูกก็เบื่อ(มันถึงไม่อยากกินไงล่ะ)

ทางออกเมื่อลูกไม่ยอมกินข้าวและชอบอมข้าว

ต้องงดอาหารทุกอย่างก่อนมื้ออาหาร (ยกเว้นน้ำเปล่า) เมื่อลูกหิวจะยอมกินเองสร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน อย่าลงโทษหรือบังคับให้เคี้ยว กลืน เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับเวลามื้ออาหารฝึกลูกให้ทานด้วยตัวเอง จะเลอะเทอะบ้างก็ต้องยอมชมเมื่อลูกทานข้าวได้มาก เด็กๆ กับคำชมนี่เป็นของคู่กัน แต่ไม่ต้องถึงกับชมทุกคำที่เคี้ยวหรอกค่ะ

ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวเพราะเคี้ยวไม่เป็น

อย่ามองข้ามไป เด็กยุคนี้มีปัญหานี้เกิดขึ้นเยอะมาก บางคน 2 ขวบแล้วก็ยังต้องกินอาหารปั่นกันอยู่ แต่โดยปกติแล้วเมื่อลูกอายุประมาณ 7 เดือน ฟันขึ้นแล้ว ลูกจะเริ่มรู้จักเคี้ยวอาหารได้บ้าง แต่เด็กบางคนไม่ถูกฝึกให้เคี้ยว เพราะพ่อแม่เห็นว่าพอเปลี่ยนอาหารเหลวมาเป็นอาหารที่เป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ลูกไม่ยอมกิน ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกกินอาหารบดหรือปั่นเหมือนเดิม กลัวว่าลูกไม่ยอมกินแล้วจะขาดสารอาหารกินอย่างนี้ได้สารอาหารครบถ้วนดี หารู้ไม่ว่าเป็นการสร้างปัญหาในการกินให้ลูกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แน่นอนว่าการเคี้ยวมีความสำคัญต่อระบบการย่อยอาหารโดยตรง เพราะหากลูกเคี้ยวได้ดีเคี้ยวละเอียดการย่อยก็ทำได้ดีขึ้น การฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหารในช่วงขวบปีแรกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเท่ากับว่าลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวขากรรไกร ฝึกกล้ามเนื้อกระพุ้งแก้ม กล้ามเนื้อคอ ฝึกการใช้ลิ้นในการตวัด ดุนอาหารฯลฯ ทำให้ลูกเคี้ยวได้ดีในเวลาต่อมานอกจากนี้ การเคี้ยวจะทำให้เด็กสามารถทดสอบความสามารถของตัวเองไปด้วย เช่น ได้ควบคุมการเคี้ยว การกลืนด้วยตัวเอง (หลังจากที่ถูกคนอื่นควบคุมมาตลอด) ซึ่งเด็กที่กินอาหารปั่นจะไม่ได้รับสิ่งนี้ และแม้ว่าโตขึ้นมาเด็กจะเคี้ยวอาหารได้เองตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่เด็กจะไม่ค่อยมีความรู้สึกที่ดีต่อการกินนัก ไม่ค่อยชอบกิน กลายเป็นคนกินยาก เลือกกิน ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

สาเหตุลูกไม่ยอมกินข้าวเพราะเคี้ยวไม่เป็น

อย่างที่บอกค่ะ ส่วนใหญ่ปัญหาลูกไม่เคี้ยวจะเกิดจากการเลี้ยงดูลูกตั้งแต่ขวบปีแรก พ่อแม่บางคนไม่สนใจให้อาหารเสริมกับลูก หรือให้ช้าไป เพราะคิดว่านมให้สารอาหารที่มีคุณค่ามากกว่า หรือเมื่อถึงวัยที่ลูกเริ่มฟันขึ้น ไม่ฝึกให้ลูกกัดเคี้ยวอาหารแข็งบ้าง ยังให้กินอาหารบดเหลวอยู่ จะด้วยความสะดวกในการป้อน หรือกลัวลูกไม่ได้สารอาหารครบถ้วนก็ตาม ลูกเลยไม่ได้ฝึกเคี้ยวซักที พอลูกไม่เคี้ยว พ่อแม่ก็ไม่พยายาม ปล่อยเลยตามเลย หรือไม่ก็ปล่อยลูกไว้กับพี่เลี้ยงที่ตามใจเด็ก เมื่อเด็กไม่เคี้ยว ก็ใช้วิธีบดอย่างที่เคยทำมา เวลาผ่านไปกว่าจะรู้ปัญหาก็เกิดขึ้นแล้ว

ทางออกลูกไม่ยอมกินข้าวเพราะเคี้ยวไม่เป็น

 เมื่อลูกถึงวัยที่ควรจะได้รับอาหารเสริม ควรให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารเสริมหลากหลายรูปแบบ โดยเลือกให้เหมาะกับวัย ค่อยๆ ลองทีละน้อย เพื่อไม่ให้ลูกเกิดการต่อต้าน ถ้าลูกยังไม่ยอมกิน ก็อย่าตามใจลูกจนละเลย พยายามใหม่ค่ะ
หากลูกถึงวัยที่ควรเคี้ยวได้แล้ว ก็ต้องค่อยๆ ฝึกด้วยการให้อาหารเสริมที่แข็งขึ้น เพื่อให้เคี้ยวบ้าง พ่อแม่อาจจะทำให้ลูกดูว่าการเคี้ยวทำอย่างไร และบอกลูกว่าอาหารเอร็ดอร่อยขึ้นแค่ไหนหากลูกเคี้ยวมัน
เมื่อสังเกตเห็นลูกชอบหยิบของเข้าปากในวัย 8-9 เดือน ลองเอาอาหารเป็นชิ้นให้ลูกหยิบเข้าปากเองบ้าง แต่ต้องระวังอาหารติดคอลูกด้วย ควรเป็นอาหารที่นิ่มยุ่ยเมื่อเข้าปาก

ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวเพราะเลือกกิน

หนูน้อยบางคนช่างเลือกอาหารเหลือเกิน อาหารชนิดไหนแปลกหน้าเข้ามาพ่อเป็นปฏิเสธดะ จริงๆ แล้วก็เป็นปกติของคนเรา แต่หากพ่อแม่ยอมลูก เห็นลูกปฏิเสธไม่กินก็ไม่ให้ลูกลองอาหารใหม่ๆ ให้กินอยู่ไม่กี่อย่างนั่นแหละ เสี่ยงต่อการที่ลูกจะขาดสารอาหารเป็นอย่างยิ่งค่ะ

สาเหตุลูกไม่ยอมกินข้าวและชอบเลือกกิน

พอลูกไม่กินอาหารแปลกใหม่แล้วพ่อแม่ยอม ลูกก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ทดลองอาหารชนิดนั้นๆ เป็นเหตุให้ลูกเลือกกิน กินเป็นอยู่ไม่กี่อย่าง
การเลือกกินอาจเกิดจากการมีประสบการณ์ในแง่ลบกับอาหารชนิดนั้นๆ เช่น กินตอนร้อนเกินไปจนทำให้ลูกเจ็บปาก เลยไม่กินอาหารชนิดนั้นไปเลยเพราะกลัวเจ็บตัวอีก ฯลฯ

ทางออกลูกไม่ยอมกินข้าวและเลือกกิน เขี่ยอาหาร

ให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารแปลกใหม่เสมอ โดยค่อยๆ ป้อนทีละน้อย แรกๆ อาจจะไม่ยอมกิน หยุดสักพักแล้วค่อยป้อนใหม่ จะช่วยได้
พยายามสร้างความรู้สึกที่ดีกับอาหารที่ลูกปฏิเสธ เช่น กินให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วให้แกลองชิมดูบ้าง

 ลองดัดแปลงจัดปรุงอาหารให้ดูน่าทาน แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก

กฏเหล็ก16ข้อในการแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวให้สำเร็จฝึกระเบียบให้ลูกให้นั่งโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมพ่อแม่อย่าทำสิ่งนีนะแม่จ๋า ไม่เปิดทีวีระหว่างรับประทานอาหารตั้งเวลาด้วยนะแม่ให้เวลารับประทานอาหารประมาณ 30 นาที ถ้าลูกไม่รับประทาน เมื่อหมดเวลาให้เก็บอาหารไปแม่จ๋าไม่ต้องกลัวหนูผอมอย่าตักอาหารให้พอดีไม่มากเกินไป

บทสนทนาก็สำคัญนะแม่ ระหว่างรับประทานอาหารให้พูดคุยแต่เรื่องดี
แม่จ๋าอย่าบังคับให้หนูรับประทานอาหารหรือลงโทษ เมื่อหนูไม่รับประทานอาหาร
ชมหนูบ้างนะแม่เมื่อหนูรับประทานอาหารได้ดีให้ชื่นชม หากทำได้ไม่ดีให้เพิกเฉย
คุณแม่ต้องเข้มงวดงดเว้นการรับประทานอาหารอื่นๆระหว่างมื้ออาหาร เช่น นม ขนม หรือของจุบจิบ เป็นต้น

ลูกวัย 1 ขวบจะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะต่อต้านหากถูกบังคับ

คุณแม่ตักปริมาณอาหารมากเกินไป

ลูกไม่ชอบรับประทานสิ่งนั้น เช่น ผัก ไม่ควรบังคับ แต่ควรดัดแปลงอาหารนั้นในรูปแบบต่างๆแล้วชักชวนให้เด็กลองรับประทานลูกขาดความอยากรับประทานอาหารเนื่องจากรับประทานขนมหรือนมระหว่างมื้อแล้วลูกอาจมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น ถูกบังคับป้อนจนเจ็บปาก หรือบรรยากาศที่ไม่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น ถูกดุหรือถูกตี เป็นต้นขณะที่รับประทานอาหารลูกอาจมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือมีปัญหาทางอารมณ์
คุณพ่อคุณแม่ลด ความกังวลใจลงบ้างเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของเด็ก เช่น กังวลว่าเด็กจะมีน้ำหนักตัวน้อยหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เพราะความกังวลนั้นส่งต่อไปให้เด็กได้ทำให้มีผลต่อการไม่รับประทานอาหารได้คุณพ่อคุณแม่ให้ ลูกได้มีโอกาสช่วยเหลือตัวเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารบ้าง เช่น ในเด็กที่เริ่มหยิบอาหารชิ้นเล็กลงหรือเอาช้อนใส่ปากได้ จะหกเลอะเทอะบ้างก็ไม่เป็นไรเมื่อทราบปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการกินของลูกที่เป้นต้นเหตุของการกินยากแล้ว คุณพ่อคุณแม่แต่ละบ้านลองปรับแก้อย่างค่อยเป็นค่อยไปนะคะ  Mamaexpert  หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เจ้าตัวน้อยของแต่ละบ้านจะกลับมาเป็น เจ้าหนูหม่ำง่าย ให้พ่อแม่คลายกังวลได้อย่างแน่นอนค่ะ 

ที่มา mamaexpert.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น